เพลงชาติไทย

เพลงชาติไทย ที่ขุนวิจิตรมาตราแต่งใน พ.ศ.2475 | เพลงชาติไทยและประวัติศาสตร์ชาติไทย

เพลงชาติไทย ที่ขุนวิจิตรมาตราแต่งใน พ.ศ.2475



การสืบทอดและการปรับเปลี่ยนความหมายชาติไทยและ  
ความเป็นไทย
ธงชาติไทย
ธงชาติ
โดยปัญญาชนภายหลังการปฏิวัติ พ..2475: หลวงวิจิตรวาทการ

ความนำ
ภายหลังการปฏิวัติ พ..2475 การนิยาม ชาติไทย และ ความเป็นไทย โดยปัญญาชนในระบบอบใหม่ มิได้เปลี่ยนแปลงมากถึงระดับที่รื้อถอน หรือเบียดขับความหมายเดิม ตรงกันข้าม แม้จะมีการเสนอความคิดใหม่บางประการขึ้นมาเพื่อตอบสนองบริบททางการเมืองที่เปลี่ยนไป แต่ความคิดใหม่เหล่านั้น ก็มิได้ขัดแย้งกับความคิดเดิม และนับตั้งแต่ทศวรรษ 2490 เป็นต้นมา กลับมีความพยายามในการรื้อฟื้นความหมายเดิมของ ชาติไทย และ ความเป็นไทย ที่ทำให้วิธีคิดเกี่ยวกับ สังคมและวัฒนธรรมไทย ของคนไทยไม่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนระบอบการปกครองมากนัก จนกล่าวได้ว่า มีความสืบเนื่องของวิธีคิดเกี่ยวกับ สังคมและวัฒนธรรมไทย ในช่วงก่อนและหลังการปฏิวัติ พ..2475 เป็นอย่างมาก


จะเห็นได้ว่า ความเป็นไทย ที่ได้รับการเน้นในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไม่เกี่ยวกับเรื่อง เชื้อชาติ หรือการสืบสายเลือดโดยตรง แต่การเรียกชื่อชาติว่า ไทย และความจำเป็นในการเขียนประวัติศาสตร์เพื่อยืนยันความสำคัญของพระมหากษัตริย์ต่อ ชาติไทย”/”เมืองไทย โดยเน้นความสำเร็จของพระมหากษัตริย์ในอดีตในการกอบกู้และรักษาเอกราชของชาติ ตลอดจนพระราชกรณียกิจในการสร้างความเจริญรุ่งเรืองแก่ ชาติไทย”/”เมืองไทย มาอย่างยาวนาน ก็ทำให้จำเป็นต้องให้ความสำคัญแก่เรื่องการสืบสายเลือดของชนชาติไทยอยู่ด้วย หนังสือเรื่อง หลักไทยของขุนวิจิตรมาตรา ซึ่งเน้นการสืบสายเลือดของคน เชื้อชาติไทย อันทำให้ ชาติไทย มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทางเชื้อชาติมาแต่โบราณ จึงได้รับการตัดสินให้เป็นหนังสือดีและได้รับพระราชทานรางวัลจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

หนังสือเรื่อง หลักไทย ซึ่งได้รับการเขียนขึ้นในปี พ.. 2471 และภายใน 7 ปี หนังสือนี้ได้รับการตีพิมพ์ซ้ำถึง 7 ครั้ง นับเป็นหนังสือสำคัญที่ทำให้แนวคิดเรื่อง เชื้อชาติ ในแง่ของการสืบสายเลือดของชนชาติไทยมีอิทธิพลอย่างกว้างขวาง เพราะเล่าถึงเรื่องราวของชนชาติไทยตั้งแต่สมัยโบราณที่อพยพมาจากตอนใต้ของจีน และสืบสายเลือดกันมาจนถึงปัจจุบัน โดยเน้นคุณลักษณะของชนชาติไทยที่มีความกล้าหาญ ความสามัคคี และความเสียสละในการต่อสู้เพื่อรักษาอิสรภาพของชาติ ไม่ยอมตกเป็นข้าของชาติใด

การเน้นเรื่องการสืบสายเลือดยังเห็นได้ชัดในเนื้อร้อง เพลงชาติไทย ที่ขุนวิจิตรมาตราแต่งใน พ..2475 และกลายเป็นเพลงที่ได้รับความนิยมก่อนหน้าที่จะเกิดเพลงชาติฉบับทางการเป็นเวลาหลายปี เพลงชาติไทย ของขุนวิจิตรมาตรานี้มีความว่า คนไทย สืบเผ่าไทยดึกดำบรรพ์โบราณลงมา...อันดินสยามคือว่าเนื้อของเชื้อไทย น้ำรินไหลคือว่าเลือดของเชื้อข้า ในขณะที่นายฉันท์ ขำวิลัย ก็ได้แต่งเพลงชาติที่มีเนื้อร้องคล้ายกัน คือ เหล่าเราทั้งหลายเลือดและเนื้อเชื้อชาติไทย  ซึ่งสะท้อนว่ามีการเน้นเรื่อง เชื้อชาติ อย่างกว้างขวางแล้ว ก่อนที่หลวงวิจิตรวาทการและจอมพล ป. พิบูลสงครามจะทำให้ความคิดที่ว่า ชาติไทย เป็นชาติของ คนเชื้อชาติไทย กลายเป็นความคิดที่ครอบงำคนไทยอย่างลึกซึ้งและกว้างขวางยิ่งขึ้น


Share on Google Plus

About Unknown

This is a short description in the author block about the author. You edit it by entering text in the "Biographical Info" field in the user admin panel.
    Blogger Comment
    Facebook Comment

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น