เพลงชาติไทย

เพลงชาติไทยและความเป็นมาอดีตถึงปัจจุบัน | เพลงชาติไทยและประวัติศาสตร์ชาติไทย

เพลงชาติไทยและความเป็นมาอดีตถึงปัจจุบัน


ประวัติเพลงชาติไทย (Phleng Chat Thai)



เดิมเพลงชาติไทยนั้น เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เสนาบดีกระทรวงธรรมการ
ซึ่งได้รับตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรคนแรก เห็นว่าควรมีเพลงชาติเพื่อปลุกใจคนไทยให้รักชาติ
สมัครสมานสามัคคี ตลอดจนเกิดเลื่อมใสในรัฐธรรมนูญ จึงได้แต่งเนื้อร้องของเพลงชาติขึ้น โดยใช้ทำนองเพลง
มหาชัย เนื้อของเพลงชาติมีดังนี้
สยามอยู่คู่ฟ้าอย่าสงสัย เพราะชาติไทยเป็นไทยไปทุกเมื่อ
ชาวสยามนำสยามเหมือนนำเรือ ผ่านแก่งเกาะเพราะเพื่อชาติพ้นภัย
เราร่วมใจร่วมรักสมัครหนุน วางธรรมนูญสถาปนาพรรษาใหม่
ยกสยามยิ่งยงธำรงชัย ให้คงไทยตราบสิ้นดินฟ้า
เพลงชาติไทยมีขึ้นนับแต่มีการเปลี่ยนแปลงใน พ..๒๔๗๕ ขณะนั้นประเทศไทยใช้ชื่อว่า ประเทศสยาม
เพลงชาติไทยครั้งแรก จึงมีเนื้อร้องใช้ชื่อประเทศสยาม ผู้ประพันธ์เนื้อร้อง คือ ขุนวิจิตรมาตรา ( รองอำมาตย์โทสง่า
กาญจนาคพันธุ์ ) และ พระเจนดุริยางค์ ( ปิติ วาทยากร

ประพันธ์ทำนอง เนื้อร้องเพลงชาติครั้งแรกมีดังนี้
แผ่นดินสยามนามประเทืองว่าเมืองทอง ไทยเข้าครองตั้งประเทศเขตแดนสง่า
๓ สืบเผ่าไทยดึกดำบรรพ์โบราณมา ร่วมรักษาเอกราษฎรชนชาติไทย ๔
๕ บางสมัยศัตรูจู่มารบ ไทยสมทบสวนทัพเข้าขับไล่ ๖
๗ ตลุยเลือดหมายมุ่งผดุงไผท สยามสมัยบุราณรอดตลอดมา
อันดินสยามคือว่าเนื้อของชาติไทย น้ำรินไหลคือว่าเลือดของเชื้อข้า
๑๑ เอกราชคือกระดูกที่เราบูชา เราจะสามัคคีร่วมมีใจ
๑๓ ยึดอำนาจกุมสิทธิ์อิสระเสรี ใครย่ำยีเราจะไม่ละให้
๑๕ เอาเลือดล้างให้สิ้นแผ่นดินไทย สถาปนาสยามให้เชิดชัยชโย ๑๖

ต่อมาบทร้องนี้ได้รับการแก้ไขในวรรคที่ ๓, , , , , ๑๑, ๑๓, ๑๕ และ ๑๖ แล้วประกาศใช้เป็น
ทางการ เมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.. ๒๔๗๗ ที่แก้ไขมีเนื้อใหม่ดังนี้
๓ สืบเผ่าไทยดึกดำบรรพ์บุราณลงมา ร่วมรักษาสามัคคีทวีไทย ๔
๕ บางสมัยศัตรูจู่โจมตี ไทยพลีชีพรวมร่วมรุกไล่ ๖
๗ เข้าตลุยเลือดหมายมุ่งผดุงไผท
๑๑ เอกราษฎร์คือเจดีย์ที่เราบูชา
๑๓ รักษาชาติประเทศเอกราชจงดี
๑๕ เอาเลือดล้างให้สิ้นแผ่นดินของไทย สถาปนาสยามให้เทอดไทยไชโย ๑๖

ต่อมาเมื่อถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พุทธศักราช ๒๔๘๒ รัฐบาลเปลี่ยนชื่อ
ประเทศจาก "สยาม" มาเป็นประเทศไทย ทำให้เกิดการแก้ไขบทร้องเพลงชาติใหม่ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งโดยประกาศ
ให้ยื่นประกวดเนื้อเพลงที่แต่งให้เข้ากับทำนองเพลงชาติเดิม การประกวดครั้งนี้มีผู้ส่งบทเนื้อร้องเข้าร่วมด้วย
เป็นจำนวนมาก ในที่สุดคณะกรรมการได้คัดเลือกบทเนื้อร้องของหลวงสารานุประพันธ์ เสนอให้คณะรัฐมนตรี
วินิจฉัย ที่ประชุมปรึกษาพิจารณาแล้วลงมติรับบทเพลงนั้น โดยแก้ไขไปบ้างตามความเหมาะ สม
วันที่ ๑๐ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๘๒ รัฐบาลจึงได้ประกาศ "รัฐนิยมฉบับที่ ๖" ให้ใช้ทำนองเพลงชาติของ
พระเจนดุริยางค์ ตามแบบที่มีอยู่ในกรมศิลปกรส่วนเนื้อร้องเพลงชาติให้ใช้บทเพลงของหลวงสารานุประพันธ์
ซึ่งประพันธ์ขึ้นในนามของกองทัพบก ดังที่เราได้ยินได้ฟังกันอยู่ในทุกวัน
ประวัติศาสตร์ประเทศไทย
ธงชาติและเพลงชาติไทย

ความหมายของเนื้อร้องเพลงชาติไทย (ท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา อธิบาย)ประเทศไทยเป็นถิ่นที่
รวมชนผู้มีเลือดเนื้อเชื้อชาติไทยไว้ให้ได้อยู่อาศัยร่วมกัน แผ่นดินทุกส่วนของประเทศไทย ย่อมเป็นของชาวไทย
ทุกคน ประชาชนไทยรักษาแผ่นดินไทยทั้งหมดไว้ได้ ก็ด้วยทุกคนมีน้ำใจสามัคคี รักคนไทยด้วยกัน และ
รักประเทศชาติ ชนไทยรักที่จะอยู่อย่างสุขสงบ แต่ถ้าจำเป็นต้องรบกับศัตรูแล้วคนไทยไม่เคยขลาดกลัวเลย
ไม่มีวันยอมให้ศัตรูหน้าไหนมาข่มขู่ทำลายความเป็นอิสระของชาติไทยได้ ทุกคนยอมสละเลือดทุกหยดเพื่อชาติ
ไทยอยู่ยั่งยืน จะปกป้องคุ้มครองประเทศไทยให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งๆ ขึ้นไป และให้มีแต่ชัยชนะตลอดไป.

จาก Website sahavicha.com
Share on Google Plus

About Unknown

This is a short description in the author block about the author. You edit it by entering text in the "Biographical Info" field in the user admin panel.
    Blogger Comment
    Facebook Comment

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น